โครงการสำนึกรักท้องถิ่นเชิงศิลปวัฒนธรรมของชุมชนเมืองหลังสวน จ.ชุมพร
ค่ายศิลปะ

โครงการสำนึกรักท้องถิ่นเชิงศิลปวัฒนธรรมของชุมชนเมืองหลังสวน จ.ชุมพร

โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งและสำนึกรักท้องถิ่นเชิงศิลปวัฒนธรรมของชุมชนเมืองหลังสวน จ.ชุมพร ด้วยความร่วมมือเชิงวิชาการสาขาศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

ค่ายศิลปะ

ค่ายศิลปะ

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม – 16  สิงหาคม 2565 นำโดย อาจารย์ ดร.พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ ประธานสาขาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้นำนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษา ศิลปากร ลงพื้นที่ชุมชน หลังสวน จังหวัดชุมพร โดยมีวัตถุประสงค์ แบ่งกลุ่มนักศึกษาร่วมกันกับผู้นำชุมชน บุคลากรโรงเรียนอุดมวิทยากร (ดร.สุรภา นิลยกานนท์ ผู้อำนวยการโรงเรียนฯ) และเทศบาล (นายปราโมทย์ อุทัยรัตน์ นายกเทศมนตรีอำเภอหลังสวน) /การท่องเที่ยว อำเภอหลังสวน ร่วมกันพัฒนาสื่อแนะนำการท่องเที่ยว ของดีของเด่น และศิลปกรรมเพ้นท์กำแพงให้กับโรงเรียนอุดมวิทยากร ร่วมกันบูรณาการส่งเสริมจิตสำนึกรักชุมชน

โดยวัตถุประสงค์โครงการ แบ่งคือ

วัตถุประสงค์

1.เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนรู้รักสามัคคีมีจิตสำนึกต่อคุณค่าในศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นชุมชนเมืองหลังสวน (ส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรม)

2.เพื่อประชาสัมพันธ์ของดีชุมชนเมืองหลังสวนด้านศิลปวัฒนธรรม (การผลิตสื่อสร้างสรรค์)

3.เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชาการระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัยศิลปากร (บริการวิชาการ)

เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการค่ายศิลปะชุมชนเพื่อพัฒนาทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้ด้านศิลปะให้กับเยาวชนเพื่อต่อยอดเส้นทางงานประกวดและส่งเสริมอาชีพ ณ โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านท่าตะเภา) จังหวัดชุมพร เมื่อปี 2563 เป็นโครงการพัฒนานักศึกษาศิลปศึกษาในการลงพื้นที่พัฒนาชุมชนนอกสถานที่ ค่ายศิลปะ และในปี 2565 นี้ มีการจัดกิจกรรมขึ้นอีกครั้ง ที่จังหวัดเดิม แต่เปลี่ยนชุมชน มาเป็นที่โรงเรียนอุดมวิทยากร อ.หลังสวน และพัฒนาให้กับนักศึกษา (ศิลปากร) ในรุ่นต่อมา ภายใต้ชื่อ “โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งและสำนึกรักท้องถิ่นเชิงศิลปวัฒนธรรมของชุมชนเมืองหลังสวน จ.ชุมพร ด้วยความร่วมมือเชิงวิชาการสาขาศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร” โดยในครั้งนี้ได้ศึกษา เรียนรู้ความต้องการของชุมชน และเรียนรู้แนวทางการปฏิบัติงานจากการจัดทำค่ายศิลปะในครั้งก่อน โดยค่ายศิลปะ ปี 2 ในครั้งนี้จึงเป็นการพัฒนาต่อยอดขึ้นจากปี 1 ใช้กระบวนการวิเคราะห์การจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน ด้วยแนวคิด PDCA. ของ William Edwards Deming และแนวคิดการจัดการเรียนรู้ชุมชนอย่างเป็นระบบ

 

พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ

พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ

พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ

พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ

article by อาจารย์ ดร.พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ